การเลี้ยงไก่ประดู่หางดำ เชียงใหม่ 1เพชรล้านนาฟาร์ม

 

การสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่

1.  หลังคามุงสังกะสี

2. พื้นดิน

3. ฝาผนังบุด้วยตาข่าย 6 หุน

4. ฝาตีไม้ไผ่

 

 

ต้นทุนในการสร้างโรงเรือนขาด 4 x 8 เมตร

ค่าใช้จ่าย

            1. สังกะสี                       7,000     บาท

            2. ตะปู                 200    บาท

            3. ตาข่าย                        1,200    บาท

            4. ระบบน้ำ,ไฟ        600    บาท

ค่าโรงเรือนรวมค่าแรงงาน        12,000          บาท

 

การเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง

1. ใช้กล่องกระดาษหย่อนหลอดไฟ ขนาด 60 W

            2. น้ำ 1 ถังต่อไก่ 50 ตัว

            3. อาหาร 1 ถัง ต่อไก่ 25 ตัว

 

  

 

 

พื้นที่โรงเรือนสำหรับเลี้ยงไก่

ขนาดพื้นที่สำหรับเลี้ยงไก่ที่เหมาะสม

โดยพื้นที่ 1 ตารางเมตร

สามรถเลี้ยงไก่ได้ 15 ตัว

โรงเรือนขนาด 4 X 8 เมตร

สามารถเลี้ยงไก่ได้ 500 ตัว

 

 

การอนุบาลลูกไก่

ควรมีที่กกมิดชิด โดยเฉพาะฤดูหนาว เพราะลูกไก่ยังเล็กต้องได้รับความอบอุ่นที่เพียงพอ การสังเกต หากลุกไก่หนาวลูกไก่จะนอนสุมกันอาจเยอะถึงทับกันตาย แต่ถ้าหากร้อนลูกไก่จะนอนแยกกระจายกัน และไม่ควรกกลูกไก่ให้หนาแน่นจนเกินไป

 

 

การให้อาหาร  

                          ควรให้น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง เพื่อกระตุ้นการอยากกินอาหาร เพราะให้เยอะไปไก่จะถ่ายมูลใส่ อาหารสกปรกไม่น่ากิน

การให้น้ำ  

                                  ควรให้น้ำสะอาดผสมจุลินทรีย์ ในอัตราส่วน 2 ซีซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร

การทำวัคซีนการถ่ายพยาธิ

ควรนำวัคซีน เข็ม ไซริงค์ มาทำการปรับอุณหภูมิให้เท่ากัน โดยแช่ในกระติกน้ำแข็ง แล้วค่อยดูดตัวทำละลายใส่ในเชื้อวัคซีน เขย่าให้เข้ากัน

                        ช่วงอายุ  7  วัน   นิวคลาสเซิล                   หยอดตา  1-2  หยด

                                  ช่วงอายุ  14  วัน            หลอดลม           หยอดจมูก  1-2  หยด

                          ช่วงอายุ  21  วัน            ฝีดาษ                แทงปีก

                        ช่วงอายุ  3  เดือน           อหิวาต์              ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

การทำวัคซีนควรทำในเวลาและ

ที่อากาศเย็น

การถ่ายพยาธิ ควรถ่ายพยาธิทุก 3 เดือน สำหรับพ่อแม่พันธุ์ และ 1 เดือนสำหรับ ลูกไก่ ไก่รุน

 

การทำวัคซีน

 

 

  

 

การให้อาหาร

1. อาหารไก่แรกเกิดจนถึง อายุ 21 วัน ใช้อาหารไก่เล็ก โปรตีน 19 %

2. อาหารไก่รุ่นอายุ 21 วันขึ้นไปใช้อาหารไก่รุ่น โปรตีน 17 %   ผสมแกลบ 1:1

                                                            หมายเหตุใช้อาหารไก่เนื้อ

 

 

 

อาหารธรรมชาติ

ได้แก่

- ปลวก                                     - ฝักข้าวโพด                     

- กล้วยสุก                                  - แมลงทุกชนิด              

- ข้าวเปลือก                                                        - หญ้าอ่อนสด

- หนอนแมลงวันจากขี้หมู             - มันสำปะหลัง     

- หยวกหมัก                               - กากมะพร้าว

- กากถั่วเหลือง                          - ต้นกล้วย

- เศษอาหารจากในครัว (ระวังอย่าให้มีถุงพลาสติก)

- มันฝรั่ง  (ให้ระวังสารเคมี ฆ่าแมลงจากแปลงปลูก)

 

การทำหยวกหมัก

อุปกรณ์

1. ถังดำ  และ มีดหั่นหยวก

2. รำแก่ ,มะละกอ หรือผลไม้คัดทิ้งในสวน(หากไม่มี ไม่ต้องใส่ก็ได้)

3. เกลือ  และน้ำตาล

4. จุลินทรีย์มีประโยชน์

 

 

วิธีการทำหยวกหมัก

หั่นหยวกแล้วสับให้ละเอียด 30 กิโลกรัม  ,ผลไม้, ผสมน้ำตาล 0.5 กิโลกรัม   เกลือ 0.5 กิโลกรัม  จุลินทรีย์แลคโต 500 cc.   หมักในถังดำปิดทิ้งไว้  3 4  วัน นำไปผสมอาหารให้ไก่กิน โดยเฉพาะช่วงอากาศร้อนจะช่วยลดความเครียดให้กับไก่

 

 

ประโยชน์ของหยวกหมัก

1. ช่วยลดความเครียด และการจิกกันเองของไก่พื้นเมือง

2. ช่วยให้ระบบย่อยดีขึ้น  ไม่เกิดอาการท้องเสีย และลดกลิ่นแก๊สแอมโมเนียากมูลไก่

 

อาหารไก่เล็ก 0-6 สัปดาห์

ข้าวโพดบด                                            58.2      กิโลกรัม

รำละเอียด                                             15         กิโลกรัม

กากถั่วเหลือง                                         18.4      กิโลกรัม

ปลาป่น                                                                 6         กิโลกรัม

เปลือกหอย                                              0.4      กิโลกรัม

ไดแคลเซียม                                             1        กิโลกรัม

เกลือ                                                                       0.5      กิโลกรัม

พรีมิกซ์                                                                    0.5      กิโลกรัม

 

 

สูตรอาหารไก่รุ่น 6-23 สัปดาห์ 1.

อาหารไก่รุ่น                                           60        กิโลกรัม

รำ                                                         60        กิโลกรัม

ปลายข้าวหรือข้าวโพดบด                            100       กิโลกรัม

เปลือกหอย และแร่ธาตุ                            5        กิโลกรัม

 

    

 

สูตรอาหารไก่รุ่น 6-23 สัปดาห์ 2.

ข้าวโพดบด                                            53.7      กิโลกรัม

รำละเอียด                                             25         กิโลกรัม

ใบกระถิน                                               4         กิโลกรัม

กากถั่วเหลือง                                         10.2      กิโลกรัม

ปลาป่น                                                  5         กิโลกรัม

เปลือกหอย                                            0.6       กิโลกรัม

ไดแคลเซียมฟอสเฟต                             0.5       กิโลกรัม

เกลือ                                                     0.5       กิโลกรัม            

พรีมิกซ์                                                  0.5        กิโลกรัม

 

 

 

สูตรอาหารไก่ใหญ่ สำหรับพ่อแม่พันธุ์  23 สัปดาห์ขึ้นไป

ข้าวโพดบด                                            51         กิโลกรัม

รำละเอียด                                             20         กิโลกรัม

ใบกระถิน                                               5         กิโลกรัม

กากถั่วเหลือง                                         9.4       กิโลกรัม

ปลาป่น                                                  6          กิโลกรัม

น้ำมันพืช                                               1         กิโลกรัม

เปลือกหอย                                            6.8       กิโลกรัม

ดีแอล – เมทโธไซมิน                              0.05     กิโลกรัม

เกลือ                                                     0.5       กิโลกรัม

พรีมิกซ์                                                  0.25      กิโลกรัม

 

 

 

ข้อดีของการผลิตอาหารใช้เอง

1.   ต้นทุนต่ำกว่าอาหารสำเร็จรูปมาก

2.   สามารถดัดแปลงหรือประยุกต์ใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นได้หลากหลาย

 

 

 

โรคระบาด และการป้องกันโรค

โรคนิวคาสเซิล

                                                ลักษณะอาการ  หายใจเสียงดัง และหายใจค่อนข้างลำบาก น้ำมูกไหล ท้องเสีย คอบิด ตัวกระตุกทั้งขาและปีกเป็นอัมพาต ไก่เป็นมากอาจตายยกเล้า เพื่อเป็นการป้องกันควรทำวัคซีนสำหรับป้องกันโรค มี 2 วิธีด้วยกันคือ การหยอดจมูก และแทงปีก โดยมีระยะการให้วัคซีนดังนี้

 

 

ตารางการให้วัคซีนนิวคาสเซิล


ชนิด

อายุ (วัน)

ปริมาตร

ระยะคุ้มครอง (วัน)

หยอดจมูก

1-7

1 – 2 หยด

21

หยอดจมูก

21

1 – 2 หยด

70

แทงปีก

90

1 ครั้ง

180




 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โรคหลอดลมอักเสบ

                                                               

                                                               ไก่จะมีอาการเป็นหวัด ลูกไก่หายใจลำบากถึงขนาดอ้าปากหายใจ มีอาการหงอยซึม ตาแฉะ การป้องกันทำวัคซีนเมื่อไก่อายุครบ 2 สัปดาห์ และซ้ำในทุกๆ  3  เดือน

 

 

โรคฝีดาษ

                                                                ติดต่อทางบาดแผลยุงเป็นพาหะ อาการบางตัวจะเกิดตุ่มคล้ายหูดขึ้นตามผิวหนัง หงอน เหนียง หนังตา หน้า และขา ตุ่มจะขยายจากเล็กไปใหญ่กลายเป็นฝี

                                                อาการอีกลักษณะหนึ่งจะเป็นแผลในลำคอ ทำให้ไก่ไม่สามารถกินอาหารได้ มีน้ำลายยืดกลิ่นเหม็น หากไม่ได้รับการรักษาได้ทันท่วงทีจะทำให้ไก่ตายได้

                                                สามารถใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนทาบริเวณที่เกิดตุ่ม และให้ยาปฎิชีวนะกินต่อเนื่องอย่างน้อย 3 วัน

 

 

โรคอหิวาต์

                                                               

                                                                อาการของโรคไก่จะหงอยซึม กระหายน้ำ เบื่ออาหาร ท้องร่วง และถ่ายออกมาสีเหลือง หรือเขียว บริเวณเหนียงและหงอนจะคล้ำกว่าปกติ บางตัวเดินไม่ได้เพราะข้อขาบวม

                                                การป้องกัน ทำระบบการสุขาภิบาลให้ดี และให้วัคซีนในไก่ที่มีอายุ 1 3 เดือน แทงเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนัง และต้องทำซ้ำทุกๆ 3 เดือน

 

 

การคำนวณต้นทุนการขุนไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ เชียงใหม่ 1

ต้นทุนการผลิตต่อลูกไก่ 1 ตัว (ควรเลี้ยงอย่างน้อย  100   ตัว จึงจะคุ้มค่าการลงทุนดูแล)

 

                                               ค่าลูกไก่                          15   บาท/ตัว

                                                ค่าอาหาร                      50   บาท/ตัว (เทียบเท่าอาหารสำเร็จรูปทาง                                                                                                           การค้า น้ำหนัก 1,300 กรัม)

                                                ค่าแรงงาน                     2.34   บาท/ตัว

                                                ค่าน้ำ + ค่าไฟ                 0.58   บาท/ตัว

                                                ค่าวัสดุอุปกรณ์ โรงเรือน  1.08   บาท/ตัว

                                                รวมต้นทุน                             =  69    บาทต่อตัว  ที่น้ำหนัก  1,200  กรัม

                                                ราคาขายไก่เป็นกิโลกรัมละ    70    บาท x 1.2  กิโลกรัม (ราคาท้องถิ่นทั่วไป)                                                                                                   =  84   บาท

                                                ดังนั้น    จะมีกำไร ตัวละ    84 69            =   15   บาท

ข้อเสนอแนะ

                        เพื่อเลี้ยงไก่ให้มี เปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง  ใช้อาหารไก่จากภายในฟาร์มให้มาก   และ ช่วงเวลาที่ไก่ราคาดี คือ เดือนพฤศจิกายน กรกฎาคม ฉะนั้นเกษตรกรก็ต้องตั้งใจวางแผนเลี้ยงให้ขายไก่ในช่วงฤดูหนาว และฤดูแล้ง

 

 

 

 

ประโยชน์ที่ได้จากการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำ

1. ไก่เป็นอาหารโปรตีนในครัวเรือนตลอดปี

2. มูลไก่น้ำมาทำปุ๋ยชีวภาพได้ดี

3. มูลไก่ใช้ผสมเป็นอาหารข้นให้วัวกินได้

4. ไก่ช่วยกำจัดหญ้าและแมลงในดิน เช่นปลวก.,มด ,ตัวอ่อนแมลงศัตรูพืชในสวนได้ดี

5. ให้ความสุขทางใจ ผ่อนคลายแก่ผู้เลี้ยง  (ผู้สูงอายุ  จะมีความสุขมากขึ้นถ้าได้ดูแลไก่ จะไม่เหงา และได้ออกกำลังกาย)

6. เลี้ยงไก่เป็นอาชีพเสริม   สร้างรายได้เสริมให้ครอบครัว

 ----------------------------------------------------------

ที่มา:เพชรล้านนาฟาร์ม